• 02-689-1818
  • contact.info@carethailand.co.th
  • Thai
  • English

คำถามที่พบบ่อย

ABA ย่อมาจากคำว่า Applied Behavior Analysis ภาษาไทย เรียกว่า เทคนิคการปรับพฤติกรรม โดยเป็นหลักการและวิธีการที่เป็นระบบ ใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  พื่อเพิ่มทักษะที่เหมาะสม และลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยการปรับสิ่งกระตุ้นที่เกิดก่อนหรือเป็นผลลัพท์ที่เกิดขึ้นหลังจากมีทักษะหรือพฤติกรรมนั้นๆ ผ่านการสอนในลักษณะรูปแบบที่เรียกว่า  The Three Term Contingency : ABC  อันประกอบด้วย  (ตัวกระตุ้น (Antecedent)  พฤติกรรมที่เด็กแสดง (Behavior)-> ผลกระทบจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Consequence)  โดยการใช้ ABA ในการฝึกสอนเด็กที่มีรูปแบบตอนเริ่มแรกของบทเรียนเป็นการสอนที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน  ( DTT- Discreet Trial Training ) เป็นการฝึกที่มีบทเรียนชัดเจนว่าในช่วงเวลานี้ต้องการให้เด็กพัฒนาทักษะเรื่องอะไร ) แล้วจึงค่อยๆ ปรับให้สามารถสอนในสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง ( NET-(Natural Environment Training)  เด็กจะสามารถได้รับการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อลดทอนปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินชีวิตในสังคม

ABA ามารถใช้ในสอนเด็กในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

1)       สอนทักษะใหม่ (เช่น ภาษา, ทักษะทางด้านสังคม, วิชาการ, ทักษะการใช้ชีวิต, การเล่น/งานอดิเรก)

2)       สอนให้เด็กเอาทักษะที่เด็กได้เรียนรู้ ไปใช้กับบุคคลที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าทักษะนั้นๆที่เด็กได้เรียนรู้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้จริง (เช่น ใช้กับพ่อแม่, พี่เลี้ยง, เพื่อนที่โรงเรียน, ญาติ)

3)       สอนทักษะในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย (เช่น การออกไปนอกสถานที่ ไปบ้านญาติ และอื่นๆ)

4)       ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ( เช่น การกระตุ้นตัวเอง, การทำร้ายตัวเอง เป็นต้น)

                                                         

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ เราจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า “วิธีการสอน” กับ “เรื่องที่สอน” มีความแตกต่างกัน

ABA คือ “วิธีการสอน” หรือ “สอนอย่างไร” ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กันในวงกว้าง โดยมีรายละเอียดในการนำเอาหลักทฤษฏีไปประยุกต์ใช้

แต่สำหรับ “เรื่องที่สอน” หรือ “สอนอะไร” เป็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ วิธีการสอน”

ภายใต้กรอบความเข้าใจนี้ จะเห็นว่า ABA ที่มีอยู่เดิม กับของ CARD/CARE นั้น มีการใช้หลักการ ABA เหมือนกัน นั่นคือการใช้วิธีการสอนแบบเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันก็แตกต่างกันที่บทเรียนหรือเนื้อหาที่สอน สำหรับบทเรียนที่ CARD ทำการสอนนั้น เป็นบทเรียนที่พัฒนาขึ้นโดย Dr. Doreen Granpeesheh (ผู้ก่อตั้ง CARD) อันมีคุณลักษณะดังนี้

·         คลอบคลุมทักษะ(skill) ที่เด็กต้องการทั้ง 8 ด้าน คือ ภาษา, การจัดการตนเอง, กล้ามเนื้อ, ทักษะสังคม, ทักษะการรับรู้, ทักษะทางวิชาการ, ทักษะการเล่น, ทักษะการปรับตัว

·         ทักษะทั้ง 8 ด้านนั้นมีการแตกออกเป็นขั้นตอนที่ละเอียดเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กที่อยู่ในภาวะออทิซึม

·         มีกระบวนการติดตามวัดผลความก้าวหน้า ว่าเด็กมีความเข้าใจในบทเรียนหรือทักษะ (skill) ที่ได้เรียนไปและสามารถนำไปใช้ได้จริง

                                                       

อย่างที่กล่าวมาว่า ABA (สอนอย่างไร) และบทเรียนที่สอน (สอนอะไร) เป็นคนละประเด็นกัน   และในกรณีนี้ต้องดูว่าเรา “สอนอะไร”ให้กับเด็ก

เด็กที่ดูเหมือนหุ่นยนต์ส่วนหนึ่งเพราะขาดทักษะสังคม (social skill) และ/หรือทักษะการปรับตัว (adaptive skill) จึงเป็นไปได้ว่าบทเรียนที่เด็กเรียนมาอาจเป็นบทเรียนที่ไม่สัมพันธ์และไม่ได้พัฒนาทักษะทั้งสองอย่างหรือบทเรียนไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับเด็ก 

อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงการพัฒนาทักษะต่างๆ ความเข้าใจของคนทั่วไปมักจะคิดว่าทักษะทางสังคม (social skill) และ ทักษะการปรับตัว (adaptive skill) เป็นสิ่งที่ “สอนไม่ได้” ต่างกับทักษะด้านอื่นๆ เช่น  ทักษะด้านวิชาการ(Academic skill) หรือ ทักษะทางด้านกล้ามเนื้อ (motor skill) ซึงเป็นสิ่งที่ “สอนได้”  แต่ที่นี่เรามั่นใจว่าทักษะทั้งสอนด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม (social skill) และ/หรือด้านการปรับตัว (adaptive skill) นั้นสามารถสอนได้ และเรามีบทเรียนแยกย่อยมากมาย ที่จะสอนทักษะดังกล่าว

คำถามนี้มีลักษณะคล้ายคำถามข้อ 3 สำหรับการให้เด็กนั่งร้อยลูกปัด หรือดูบัตรคำ ถือเป็นหนึ่งในบทเรียนที่สอน (สอนอะไร) ของ ABA  แต่ในขณะที่ ABA คือวิธีการหรือหลักการสอน (สอนอย่างไร) ดังนั้นมองได้ว่าเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่ถูกหลัก

                                                  

สำหรับการฝึกสอนด้วยวิธี ABA จะไม่ใช้การจำกัดขอบเขตหรือบังคับเด็ก  ในทางตรงกันข้าม หลักการ ABA จะใช้กระบวนการเสริมแรงจูงใจ (Reinforcement) มาโน้มน้าวให้เด็กยอมฝึกหรือเรียน  สำหรับนั กพัฒนาทักษะที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะสามารถทำให้กระบวนการนี้มีความสนุกสนานและเป็นธรรมชาติ

อย่างไรก็ตามในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และจำเป็นต้องใช้วิธีการ ABA ในการปรับพฤติกรรม การที่เด็กจะเสียใจหรือร้องไห้ก็เป็นการแสดงความต่อต้าน (ส่วนใหญ่จะเป็นในช่วงเริ่มต้นฝึกใหม่ ๆ) และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับพฤติกรรม ซึ่งโดยมากใช้เวลาเพียงไม่นานเด็กจะเรียนรู้และมีความเข้าใจ การแสดงอาการร้องไห้หรือเสียใจก็จะหายไปเอง

    

บทเรียนการสอนนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ                        

-         Discrete Trial Training (DTT) คือ การสอนหรือพัฒนาทักษะแบบตัวต่อตัวโดยสอนอย่างมีการวางแผน, การควบคุม, และระบบที่ชัดเจน  ในการใช้ DTT มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะและจะแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย แยกสอนเป็นขั้นตอนแบบละเอียดทีละขั้นและจะสอนแบบซ้ำๆ โดยแต่ละขั้นจะมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจน

 

-        Natural Environment Training (NET) คือ การพัฒนาทักษะที่มีอยู่และปรับใช้ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติให้เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยยังคงไว้ซึ่งระบบของการเรียนรู้ผ่านการให้รางวัลที่เป็นระบบและยังคงอิงแบบแผนของการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์

  ในช่วงเริ่มต้นเนื่องจากคลังทักษะของเด็กยังมีน้อยและไม่สมบูรณ์ บทเรียนจะเป็นแบบ DTT เพื่อเด็กจะได้รับทักษะต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ แต่เมื่อเวลาผ่านไป การใช้บทเรียนแบบ NET จะมีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ บทเรียนแบบ DTT จะลดลงเนื่องจากจะเป็นการนำทักษะที่เด็กๆ ได้เรียนไปเข้ามาสอนในสภาวะแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ (เราเรียกว่าการ ปรับใช้ทั่วไป  หรือ Generalize)  แต่ในที่สุดจะคงเหลือแต่บทเรียน NET เท่านั้น

                                     
 ณ ที่นี่ เราเริ่มต้นจากการประเมินทักษะและความสามารถของเด็กโดยการจัดประชุมเพื่อประเมินทักษะและความสามารถที่เด็ก (Initial Clinic) มีผ่านผู้ออกแบบและดูแลบทเรียน (Supervisor)ที่มาจาก CARD จากนั้นก็ดำเนินการพัฒนาบทเรียนที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับเด็กแต่ละคน โดยนักพัฒนาทักษะจะเป็นผู้นำบทเรียนที่ออกแบบมาไปใช้ในการพัฒนาทักษะของเด็ก พร้อมกันนี้เด็กแต่ละคนจะได้รับการติดตามประเมินผลและมีการปรับปรุงบทเรียนในแต่ละเดือนเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น