• 02-689-1818
  • contact.info@carethailand.co.th
  • Thai
  • English

ปาฏิหาริย์ที่มีจริง

การหลุดจากภาวะออทิซึมนั้นยังคงเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่และบุคคลากรสาขานี้ยังคงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง คาร์ด (C.A.R.D.) นั้นมิได้เป็นแค่พยานจากหลายๆกรณีแต่ยังได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็กภายใต้การดูแลของคาร์ด (C.A.R.D.) หลุดออกจากภาวะนี้ คาร์ด (C.A.R.D.) ไม่ใช่สถานที่แห่งเดียวที่ทำเช่นนี้ได้ มีผู้ให้บริการทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำแบบเดียวกัน โดยใช้ ABA ขั้นสูงเพื่อบำบัดพัฒนาเด็กในภาวะออทิซึ่ม โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์รวมเป็นเวลาสองปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อทางคาร์ด (C.A.R.D.) กล่าวถึงการหลุดจากภาวะนั้น คาร์ด (C.A.R.D.) แปลความหมายว่าเด็กไม่แสดงอาการบกพร่องที่สำคัญทางเวชศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะออทิซึม กล่าวคือไม่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงเกินความจำเป็นอีกต่อไป และเด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างปกติแล้ว โดยใช้หลักการประเมินดังต่อไปนี้

สามสิ่งหลักหลักที่คาร์ด (C.A.R.D.)ใช้เป็นมาตรวัดได้แก่  

  1. เด็กได้คะแนนในการทดสอบมาตรฐาน ทั้งทางสติปัญญา ภาษา การเข้าสังคม และทักษะในชีวิตประจำวัน อยู่ในค่าเฉลี่ยหรือสูงกว่า
  2. เด็กได้คะแนนในระดับผ่านเกณฑ์การศึกษาในห้องเรียนปกติ โดยไม่มีการสนับสนุนพิเศษใดๆ
  3. เด็กผ่านการประเมินโดยแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และข้อสรุปของแพทย์คือเด็กไม่มีอาการใดๆเข้าข่ายภาวะออทิซึ่มอีกต่อไป

สังเกตได้ว่าคาร์ด (C.A.R.D.) จะใช้คำว่า หลุดหรือหายจากภาวะออทิซึ่ม ในสื่อการตลาดและการประชาสัมพันธ์ต่างๆของคาร์ด (C.A.R.D.) และสกิลส์ (SKILLSTM) ท่านอาจจะสงสัยว่า คาร์ด (C.A.R.D.) และสกิลส์ (SKILLSTM) จะสามารถรักษาบุตรหลานของท่านได้จริงหรือ  คาร์ด (C.A.R.D.)ไม่สามารถรับประกันและยังไม่มีการพิสูจน์ที่ชัดเจนมาชี้แจงได้ว่ามีการบำบัดแบบใดในโลกที่รักษาอาการออทิซึมให้หายขาดได้  สกิลส์ (SKILLSTM) นั้นเป็นระบบสหสาขาวิชาที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกสำหรับการออกแบบและติดตามความคืบหน้าพัฒนาการของเด็กในหลักสูตร ABA    แต่การส่งเสริมพัฒนาการอย่างเข้มข้นและสม่ำเสมอโดยอิงหลัก ABA ที่ดีมีคุณภาพสูงนั้นยืนยันได้สิ่งหนึ่งว่า เด็กมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีไม่มากก็น้อย ดังนั้นหากทีมงานของท่านทำการรักษาโดยการใช้  ABA ที่มีประสิทธิภาพสูงในเด็กวัยอ่อนกว่า 4 ขวบ โดยใช้เวลา 30 ชั่วโมงหรือมากกว่าต่อสัปดาห์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีหรือมากกว่านั้น บุตรหลานของท่านนั้นมีโอกาสที่พัฒนาจนไม่เหลือภาวะอาการให้เห็น

ทั้งนี้ได้มีงานวิจัยที่เผยแพร่ผลลัพธ์ของการแทรกแซงพฤติกรรมสำหรับเด็ก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากเด็กที่เริ่มต้นฝึกก่อนอายุ 5 ขวบ และเข้ารับการฝึกมากกว่า 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีหรือมากกว่า แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยบางส่วนของผู้เข้าร่วมงานวิจัยทำคะแนนผ่านค่าเฉลี่ยในบางบททดสอบที่ใช้วัดผล ในส่วนใหญ่ของการศึกษาเหล่านี้พบว่าเด็กบางคนผ่านเกณฑ์มาตรฐานในทุกผลการทดสอบ ทั้งนี้การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัดเพิ่มเติมซึ่งทางคาร์ด (C.A.R.D.) และที่ศูนย์อื่น ๆ กำลังดำเนินการอยู่นั้นยังคงมีความจำเป็น  แต่หลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มากพอที่จะสามารถสนับสนุนได้ส่วนหนึ่งว่าการหลุดจากภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้

บางคนยอมรับว่าเด็กสามารถที่จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตหรือการทำงานได้แม้ว่าพวกเขายังคงมีอาการอยู่ แต่ถ้าหากเด็กไม่แสดงอาการที่จะบ่งชี้ว่าอยู่ในภาวะออทิซึ่มและไม่ได้มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์(ที่นอกเหนือจากเด็กที่มีพัฒนาการปกติควรจะเป็น)แล้วนั้น ทำไมเราถึงยังคงตีตราว่าพวกเขาเป็นเด็กออทิสติกอยู่ เด็กอาจจะยังมีบางสิ่งที่ผิดปกติทางชีวภาพหรือทางสรีรวิทยา แต่ถ้าไม่มีอาการบกพร่องทางคลีนิคอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทักษะทางภาษา การเข้าสังคม และพฤติกรรมซ้ำซากย้ำคิดย้ำทำแล้ว เราก็สามารถถือว่าเด็กไม่ได้มีภาวะออทิซึมอีกต่อไปมได้หรือไม่ เด็กเหล่านี้อาจเพียงแค่มีความบกพร่องทางสรีรวิทยาบางอย่างเท่านั้น

อีกประเด็นที่ยังคงมีการถกเถียงกันก็คือ คาร์ด (C.A.R.D.) ไม่ได้กำจัดมุมมองในชีวิตที่มีเอกลักษณ์ หรือบุคลิกภาพที่ไม่เหมือนใครของพวกเขาออกไป หากแต่คาร์ด (C.A.R.D.) เพียงแค่สอนทักษะ ให้เครื่องมือ และเปิดทางเลือกให้กับเด็ก หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับการเลือกของเด็กว่าเขาต้องการหรือไม่  คาร์ด (C.A.R.D.) ไม่ได้พยายามที่จะทำให้ทุกคนเป็นเด็ก "ปกติ" คาร์ด (C.A.R.D.) ไม่ได้เชื่อในความปกติด้วยซ้ำ คาร์ด (C.A.R.D.) เชื่อมั่นในทักษะการเรียนรู้ที่ทำให้คุณเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้มากขึ้น

แต่น่าเสียดายที่ในขณะนี้ยังไม่มีการวิจัยยังที่ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าใครจะหลุดจากภาวะออทิซึมได้บ้าง ตราบใดที่เราสามารถที่จะเริ่มต้นการรักษาอย่างเข้มข้น ซึ่งหมายถึง 30 ชั่วโมงหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ ในเด็กอ่อนอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ได้นั้น เราก็คาดหวังได้ว่าเด็กจะสามารถหลุดจากภาวะออทิซึมได้ คาร์ด (C.A.R.D.) ทราบดีว่าคงจะเป็นไปไม่ได้ทุกราย แต่สิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นก็คือ การที่เด็กได้เรียนรู้ทักษะในชีวิตที่จำเป็นหลายอย่าง ความจริงที่ว่าเด็กส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในภาวะออทิซึมไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่สมควรได้รับโอกาสที่จะได้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิต บนพื้นฐานการฝึกที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้และเรียนรู้มากที่สุดที่พวกเขาจะสามารถทำได้

Butter, E. M., Mulick, J. A., Metz, B., et al. (2006). Eight case reports of learning recovery in children with pervasive developmental disorders after early intervention. Behavioral Interventions, 21, 227-243.

Fein, D., Barton, M., Eigsti, I., Kelley,E., Naigles, L., Schultz, R., Stevens, M., Helt, M., Orinstein, A., Rosenthal, M., Troyb, E., &, Tyson, K. (2013). Optimal outcome in individuals with a history of autism. Journal of Child Psychology and Psychiatry, DOI: 10.1111/jcpp.12037.

Granpeesheh, D. (2008). Recovery from autism: Learning why and how to make it happen more. Autism Advocate, 50, 54-58.

Granpeesheh, D., Tarbox, J., Dixon, D., Carr, E., & Herbert, H. (2009). Retrospective Analysis of Clinical Records in 38 Cases of Recovery from Autism. Annals of Clinical Psychiatry, 21, 195-204.

Helt, M., Kelley, E., Kinsbourne, M., et al. (2008). Can children with autism recover? If so, how? Neuropsychology Review, 18, 339-366.

Kelley, E., Naigles, L., & Fein, D. (2010). An in-depth examination of optimal outcome children with a history of autism spectrum disorders Research in Autism Spectrum Disorders, 4, 526–538.